Where They Came From : จากลายผ้าพันปีสู่ไอคอนสตรีทเเวร์

Where They Came From : จากลายผ้าพันปีสู่ไอคอนสตรีทเเวร์

สำหรับผู้คนที่ติดตามและชื่นชอบในเรื่องราวของแฟชั่นน่าจะคุ้นเคยกันดีกับลายผ้า"Paisley"หรือ"ลายหยดน้ำ"แต่รู้หรือไม่?ว่าเจ้าลายผ้าสุดฮอตฮิตชนิดนี้ นั้นมีจุดเริ่มต้นมายาวนานมากกว่า 1000 ปีที่แล้ว และมีพัฒนามาเรื่อยๆจนอยู่เคียงคู่กับวัฒนธรรม Street วันนี้ Carnival จะพาทุกคนไปเรียนรู้ประวัติศาสตร์และเส้นทางของลายเสื้อผ้าสุดฮิตนี้กัน

 

จุดกำเนิดที่ดินเเดนเเห่งอารยธรรมเปอร์เซีย

 

 

  Paisley หรือที่คนไทยมักเรียกติดปากว่า “ลายหยดนํ้า” นั้นมีต้นกำเนิดในเเถบเปอร์เซีย ซึ่งคนเปอร์เซียจะเรียกลายผ้าชนิดนี้ว่า “Boteh” ที่มีความหมายว่า "ช่อดอกไม้" เพราะตัวลาย Paisley เองนั้นก็ได้รับเเรงบันดาลใจมาจากช่อดอกไม้เช่นกัน โดยในสมัยก่อนลาย Paisley มักถูกใช้เป็นลายประดับตามข้าวของเครื่องใช้และสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ มาแต่โบราณ เพราะในสมัยโบราณนั้นมีความเชื่อว่าช่อดอกไม้คือสัญลักษณ์ของชีวิตและความเป็นนิรันดร์ตามความเชื่อของนิกายโซโรแอสเตอร์ ซึ่งเป็นศาสนาโบราณศาสนาหนึ่งของแถบเปอร์เซีย หรือ เเม้เเต่ผ้าคลุมไหล่ที่ใช้ในพิธีถวายสัตว์สาบาน ก็ยังเป็นลาย Paisley เรียกได้ว่าเป็นลายยอดฮิตของยุคสมัยจริงๆ

ที่มาของชื่อ Paisley

 

 

 เมื่อเข้าสู่ยุคล่าอาณานิคม บริษัท East India บริษัทจากอังกฤษที่จะคอยเดินทางไปหาซื้อสินค้าจากประเทศต่าง ๆ พวกเขาได้เข้าไปในแถบแคชเมียร์ในประเทศอินเดีย เเละได้รับของพระราชทานเป็นผ้าเเคชเมียร์ พวกเขาจึงได้นำผ้ากลับไปยังประเทศอังกฤษ เมื่อผ้าคลุมไหล่เเคชเมียร์ เดินทางไปถึงมือสาวๆอังกฤษ ก็เกิดกระแสคลั่งไคล้ผ้าเเคชเมียร์กันยกใหญ่ จนบริษัท East India หาของไม่ทัน เพราะผ้าเเคชเมียร์นั้นทำด้วยวัสดุชั้นดีที่ หายากระดับเสี่ยงตาย ตัวผ้านั้นทำจากขนชั้นในบริเวณพุงของแพะภูเขา ซึ่งจะสลัดทิ้งเมื่อเข้าสู่ฤดูร้อนเท่านั้น ทำให้การเก็บนั้นยากลำบาก เเถมกรรมวิธีการทอของผ้าก็ซับซ้อนมาก ว่ากันว่าบางผืนใช้เวลาทอหลายปีทีเดียว
 

แม้จะใช้วิธีทอลายเป็นผืนเล็กๆ แล้วเอามาต่อกัน ก็ยังทำไม่ทันอยู่ดี เมื่อผลิตไม่ทัน ก็เริ่มมีการทอผ้าเลียนแบบผ้าเเคชเมียร์ขึ้นมา ด้วยขนแกะแกมไหมใน อังกฤษและฝรั่งเศส แต่ผ้าจากขนเเกะก็ยังไม่มีประสิทธิภาพเพราะผ้าทอได้แค่สองสีเท่านั้น จนกระทั่งชาวเมืองเพสลีย์ในสก็อตแลนด์เริ่มทอบ้าง และนำเทคโนโลยีล่าสุดในสมัยนั้นอย่างเครื่องทอแจ็คการ์ด (Jacquard loom) มาใช้ ทำให้ผสมสีเส้นด้ายเพิ่มขึ้นได้จนถึง 15 สี กลายเป็นสินค้าขึ้นชื่อของเมือง และทำให้เมืองเล็ก ๆ แห่งนี้ กลายเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมทอผ้าขึ้นมาเลยทีเดียว และนับแต่นั้นลายลูกน้ำบนผ้าเเคชเมียร์ ก็ได้ชื่อภาษา อังกฤษตามชื่อเมืองเล็กๆ ในสก็อตแลนด์ ว่า Paisley (เพรสลีย์)

 

จาก Paisley สู่ Bandana

 

 

แต่มีขึ้นก็ย่อมมีลง เมื่อเข้าสู่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมอย่างเต็มรูปแบบผ้าคลุมไหล่เปลี่ยนจากการทอแบบละเอียดละออมาเป็นการพิมพ์ลายลงไปเเทน ทำให้ขายได้ถูกลงใคร ๆ ก็ซื้อหาได้ประกอบกับแฟชั่นของสาว ๆ ในยุคนั้นที่เริ่มเปลี่ยนไป เเฟชั่นในตอนนั้นส่วนใหญ่จะฮิตการเสริมโครงที่บั้นท้าย ผ้าคลุมไหล่เลยเป็นเครื่องประดับที่รกเกินไป ความนิยมของผ้าคลุมไหล่ลายเพสลีย์เริ่มตกลงพร้อม ๆ กับเศรษฐกิจและปากท้องของช่างทอชาวเมืองเพสลีย์ที่เริ่มฝืดเคืองบางส่วนก็อพยพไปแคนาดาหรือออสเตรเลีย บางส่วนก็หันมาผลิตสินค้าผ้าลายเพสลีย์ชิ้นเล็ก ๆ สำหรับผู้ชายทั้งผ้าผูกคอผ้าเช็ดหน้าซับในเสื้อนอกและผ้าสี่เหลี่ยมจัตุรัสผืนใหญ่อเนกประสงค์ที่จะรู้จักกันในเวลาต่อมาในชื่อผ้า "Bandana" นั่นเอง

 ผ้า Bandana นั้นเดินทางไปฮอตไกลถึงอเมริกา ผ้า Bandana กลายเป็นไอเทมคู่ใจของชาวคาวบอยเคียงคู่กับกางเกงยีนส์ ชาวคาวบอยนั้นใช้ผ้า Bandana ทั้งผูกคอ โพกหัว เช็ดหน้า ไปจนถึงปิดปากปล้น เรียกได้ว่าชาว คาวบอยคือผู้ปลุกกระเเสผ้าลายลูกน้ำ ให้กลับมาฮอตฮิตอีกครั้งในช่วงทศวรรษที่ 60 อีกส่วนที่ทำให้ผ้าลายลูกน้ำกลายเป็นที่รู้จักในกว้าง นั้นก็คือวงร็อคอย่างเดอะบีทเทิลส์ พวกเขานั้นคลั่งไคล้วัฒนธรรมตะวันออก โดย เฉพาะวัฒนธรรมจากอินเดีย เหล่าเเฟนคลับมักจะได้เห็นหนุ่มๆ 4 เต่าทองใส่เสื้อเชิ้ตลาย Paisley อยู่เสมอ จนลาย Paisley กลายเป็นไอคอนประจำยุคไปอีกอย่างหนึ่งเลยทีเดียว

 

ลายพันปีในวงการสตรีทแฟชั่น

 

 ในวงการสตรีทแฟชั่น นั้นเราสามารถพบเห็นลายผ้า Paisley ไปอยู่ได้แทบจะทุกที่ โดยเฉพาะลาย Bandana ที่สามารถใส่คู่กับไอเทมได้ทุกแนว ในปี 2017 ถือเป็นฤดูกาลที่ The Business of Fashion ออกแคมเปญ # TiedTogether ที่มีเป้าหมายในการพลักดันให้ผู้คนทั้งในและนอกวงการแฟชั่น ใส่ลาย "White Bandana" สีขาวเพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งความเป็นหนึ่งเดียวกันของมนุษยชาติที่ไร้กำแพง ไม่ว่าจะเชื้อชาติ เพศสภาพ หรือ ศาสนาใด โดยดีไซนเนอร์และแบรนด์ดังต่าง ๆ ก็ออกมาสนับสนุนเเคมเปญนี้กันอย่างล้นหลาม อย่าง Tommy Hilfiger ดีไซนเนอร์รุ่นเก๋าของสหรัฐเขาได้ใช้ Bandana ขาวพันข้อมือของ Model ทุกคนที่งานรันเวย์เปิดตัว Collection ของเขา

 Raf Simons ก็ส่ง Bandana ขาวเป็นเหมือนบัตรเชิญงานเปิดตัว Collection งานแรกของเขาในฐานะ Chief Creative Officer ของเเบรนด์ Calvin Klein หรือเเม้เเต่ A$AP Rocky แรพเปอร์หนุ่มชื่อดังผู้เป็นหนึ่งในไอคอนเเห่งยุค เขาก็มีเเบรนด์ของตัวเองในชื่อ "Awge" เเถมยังชอบออกคอลเลคชั่นที่ใช้ลวดลาย Paisley มาเป็นส่วนประกอบ เเถมตัวของ A$AP เองชอบใช้ผ้า Bandana Paisley สีเหลืองมาเเมทช์ลุคจนกลายเป็นอีกหนึ่งภาพจำของเขาไปเลย

 ลาย Bandana ถือเปนไอเทมที่แสดงตัวตนได้อย่างหลากหลาย เเละด้วยความเป็น Accessory Unisex ทำให้ใส่ง่ายแมชได้แทบทุกลุค ทุกสไตล์ ใส่ได้ทุกฤดูไม่ว่าจะพันคอ พันหัว ข้อมือ พันกระเป๋า ลาย Paisley จึงเป็น Accessory ที่ชิ้นเล็กแต่เป็นหัวใจสำคัญได้ในเวลาเดียวกัน เเต่นอกจากนั้นลาย Bandana ก็ยังอยู่บนรองเท้าเสื้อผ้าแนวสตรีทอีกนับไม่ถ้วนและลาย Paisley ก็ยังไปอยู่บนรองเท้าสุด Hype และ Collaboration ต่าง ๆ มากมายอย่างเช่น Nike Dunk Low โมเดลสุดฮิตของช่วงที่ผ่านมา ก็ออกลาย "Swoosh Paisley" มาอย่างต่อเนื่อง ส่วนด้าน Collab เราก็ได้เห็น Collection ระหว่าง Vans เเละ Anderson Park ที่นำลาย Paisley มาวาดลวดลายลงบนโมเดลต่าง ๆ ของ Vans ได้อย่างลงตัว เรียกได้ว่า Paisley เป็นสไตล์ที่แม้จะอยู่มามากกว่าพันปีแล้ว แต่เสน่ห์ของลวดลายสุดเก๋านี้ไม่เคยเสื่อมคลายไปเลยจริง ๆ

 

  

#wheretheycamefrom #paisley #bandana#carnivalbkk

By Carnivalbkk
133 view(s)
2 years ago