ชวนรู้จัก ‘ปั้น’ ศิลปินสาวผู้ใช้กรรไกรเปลี่ยนกระดาษให้เป็นงานศิลปะ
“เมื่อการตัดเป็นการสร้างสิ่งใหม่” Artist Showcase วันนี้ขอแนะนำ ปั้น Papeterie ศิลปินผู้รังสรรค์ผลงาน ‘เปเปอร์ คราฟท์’ สุดน่ารักให้กับคอลเลคชั่น Carnival x New Era ในบทสัมภาษณ์สุด Exclusive นี้เราจะพาทุกคนไปรู้จักเธอคนนี้ให้มากขึ้นกัน!
ปั้น–นภัสชล ตั้งนุกูลกิจ จบการศึกษาจากคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ สาขาหัตถศิลป์ สมัยเรียนปั้นได้ลองทำงานศิลปะมาหลายแขนง ตั้งแต่งานปั้นเซรามิกไปจนถึงดรออิ้งสิ่งที่เธอชอบที่สุดกลับเป็น “งานกระดาษ”
.
เธอเริ่มจากการสำรวจความชอบ เธอทำมันด้วยใจที่รักในการตัดกระดาษ ปั้นบอกกับเราว่า “การตัดกระดาษคือความสุขที่สุด มันช่วยเยียวยาจิตใจเราได้ดี” ในบรรดางานฝีมือทั้งหมด ปั้นชอบการตัดกระดาษ และจากความสนุกก็กลายมาเป็นความถนัด
.
เธอเริ่มเปิดไอจี P.Papeterie เพื่อลงผลงานช่วงสมัยเรียน เนื่องจากปั้นทำงานกระดาษเป็นงานอดิเรกจนผลงานเริ่มล้น ไม่รู้จะเก็บไว้ไหน จากนั้นจึงเริ่มส่งการ์ดให้เพื่อนๆ ตามโอกาสพิเศษต่างๆ จนกระทั่งมีโอกาสได้ทำโปรเจคหนังสือเด็กในวิชาเรียน ที่หัวข้อเป็นปลายเปิดว่าใช้เทคนิกอะไรก้ได้ แน่นอนว่าปั้นเลือกการตัดกระดาษ และด้วยฟีดแบ็คที่ดีรอบด้าน จึงเป็นการจุดประกายให้เธอเริ่มทำงานกระดาษอย่างเต็มตัว
.
Papeterie ศิลปินกระดาษในวัยเรียนได้รับว่าจ้างให้ทำงานมากมายหลากหลาย ไปจนถึงขั้นเวิร์คช็อปเลยก็มี ตอนแรกปั้นมั่นใจเลยว่าจบมาต้องได้ทำงานตัดกระดาษเป็นศิลปินแน่ๆ!
แต่งานแรกที่เธอทำกลับเป็นงานฟูลไทม์ร้านดอกไม้ Plant House
.
และตอนนั้นเองที่ความชอบสองอย่างของปั้นมาบรรจบกันอย่างลงตัว ความหลงใหลในงานกระดาษ ผสานกับความรักในสเน่ห์ของดอกไม้
.
‘การทำงานที่ร้าน Plant House ช่วยให้เธอรู้จักและเข้าใจดอกไม้นานาชนิดมากยิ่งขึ้น’
.
เมื่อไม่อยากเลือกระหว่างความรักในการจัดดอกไม้ กับการคราฟท์งานกระดาษ เธอจึงตัดสินใจมูฟออกมาเริ่มต้นใหม่ในฐานะศิลปินอีกครั้ง และผลตอบรับก็ดียิ่งขึ้น
เมื่อตัวตนของเธอชัดเจน เสน่ห์ของดอกไม้กระดาษเบ่งบานอย่างสวยงาม ในที่สุดปั้นก็ได้รับโอกาสให้ไปจัดนิทัศการที่ The Jam Factory ในชื่อ “Lost in the Greenland” เมื่อปี 2021
.
Cr. Photo plant_house IG
.
เธอเริ่มจากการสำรวจความชอบ เธอทำมันด้วยใจที่รักในการตัดกระดาษ ปั้นบอกกับเราว่า “การตัดกระดาษคือความสุขที่สุด มันช่วยเยียวยาจิตใจเราได้ดี” ในบรรดางานฝีมือทั้งหมด ปั้นชอบการตัดกระดาษ และจากความสนุกก็กลายมาเป็นความถนัด
.
เธอเริ่มเปิดไอจี P.Papeterie เพื่อลงผลงานช่วงสมัยเรียน เนื่องจากปั้นทำงานกระดาษเป็นงานอดิเรกจนผลงานเริ่มล้น ไม่รู้จะเก็บไว้ไหน จากนั้นจึงเริ่มส่งการ์ดให้เพื่อนๆ ตามโอกาสพิเศษต่างๆ จนกระทั่งมีโอกาสได้ทำโปรเจคหนังสือเด็กในวิชาเรียน ที่หัวข้อเป็นปลายเปิดว่าใช้เทคนิกอะไรก้ได้ แน่นอนว่าปั้นเลือกการตัดกระดาษ และด้วยฟีดแบ็คที่ดีรอบด้าน จึงเป็นการจุดประกายให้เธอเริ่มทำงานกระดาษอย่างเต็มตัว
.
Papeterie ศิลปินกระดาษในวัยเรียนได้รับว่าจ้างให้ทำงานมากมายหลากหลาย ไปจนถึงขั้นเวิร์คช็อปเลยก็มี ตอนแรกปั้นมั่นใจเลยว่าจบมาต้องได้ทำงานตัดกระดาษเป็นศิลปินแน่ๆ!
แต่งานแรกที่เธอทำกลับเป็นงานฟูลไทม์ร้านดอกไม้ Plant House
.
และตอนนั้นเองที่ความชอบสองอย่างของปั้นมาบรรจบกันอย่างลงตัว ความหลงใหลในงานกระดาษ ผสานกับความรักในสเน่ห์ของดอกไม้
.
‘การทำงานที่ร้าน Plant House ช่วยให้เธอรู้จักและเข้าใจดอกไม้นานาชนิดมากยิ่งขึ้น’
.
เมื่อไม่อยากเลือกระหว่างความรักในการจัดดอกไม้ กับการคราฟท์งานกระดาษ เธอจึงตัดสินใจมูฟออกมาเริ่มต้นใหม่ในฐานะศิลปินอีกครั้ง และผลตอบรับก็ดียิ่งขึ้น
เมื่อตัวตนของเธอชัดเจน เสน่ห์ของดอกไม้กระดาษเบ่งบานอย่างสวยงาม ในที่สุดปั้นก็ได้รับโอกาสให้ไปจัดนิทัศการที่ The Jam Factory ในชื่อ “Lost in the Greenland” เมื่อปี 2021
.
Cr. Photo plant_house IG
“เหตุผลที่เลือกงานกระดาษ เพราะชอบชิ้นงานที่จับต้องได้ ราวกับมีมิติขึ้นมา”
.
สมัยเรียนเธอชอบงานกระดาษและแกะสลักที่สุดในบรรดางานฝีมือทั้งหมด เธอบอกว่าของมีคมเหล่านี้คือพู่กันสำหรับเธอ
.
ดอกไม้กระดาษที่อยู่ระหว่างภาวะความกึ่งจริงกึ่งปลอมนี้เป็นพื้นที่สุดสมบูรณ์แบบสำหรับปั้นในการรังสรรค์ผลงานของเธอ ยิ่งดอกไม้กระดาษมีดูมีชีวิตชีวามากเท่าไหร่ ยิ่งแสดงให้เห็นว่าฝีมือของคนสร้างมีความปราณีตมากเท่านั้น
.
~ ‘จากดีไซน์ตระการตาของ Wes Anderson ไปจนถึง สีสันอันงดงาม ในงานของ Claude Monet”
แม้เธอจะทำงานดอกไม้กระดาษ แต่แรงบันดาลใจของปั้นส่วนใหญ่มาจาก ภาพยนตร์ จิตรกรรม
และ งานปัก เป็นหลัก
.
เธอบอกกับเราว่างาน โปรดักชั่นดีไซน์และคอสตูมของ Wes Anderson เป็นโลกที่น่าสนใจ
(ปั้นแอบกระซิบว่าเธอสนใจถ้าได้ทำฉากหรือนำดอกไม้ของเธอไปอยู่ในหนังด้วยนะ!)
งานเพ้นท์ติ้ง สไตล์ Impressionist ของ Monet คงไม่ต้องบอกว่าอินสไปร์เธออย่างไร เนื่องจากดอกไม้ของทั้งคู่มีความสดใสงดงามมีชีวิตชีวาเหมือนกับของจริง นอกจากนี้ เธอยังสนใจงานที่มีอินสไปร์จากธรรมชาติอย่าง Gustav Klimt, Gaudi และ William Morris อีกด้วย
.
ไอดอลคนไทยของเธอคนนึงคือพี่ ยูน - ปัณพัท เตชเมธากุล ศิลปินระดับโลกผู้เคยร่วมงานกับ Gucci มาแล้ว! ปั้นบอกว่าเธอชอบเสพงานแบบดีเทลเยอะๆ สีสันแน่นๆ เพราะโดยส่วนตัวปั้นเองไม่ใช่แนว ‘มินิมอล’ เท่าไหร่
.
การแต่งตัวของปั้นเองก็อยู่ในทิศทางเดียวกันกับงานของเธออีกด้วย
.
“คิดว่าที่เชื่อมโยงงานของปั้นกับการแต่งตัวคือเรื่องของดีเทล ที่ชอบเติมดีเทลเล็กๆในชิ้นงานเสมอ นอกจากเรื่องสีและลวดลาย Pattern on Pattern สีชนกันไม่เรียบ คิดว่าอีกสิ่งที่ปั้นขาดไม่ได้อย่างนึงเลยคือต่างหู รู้ว่าทำให้การแต่งตัวสนุกขึ้น และทำให้สร้างลุคที่แตกต่างกันออกไปได้ค่ะ”
.
Fun Fact : Daily Routine หรือ Ritual ของศิลปินคือสิ่งที่ทำบ่อยๆ เช่นถ้าเป็นสาย Portrait อาจจะมี Quick Sketch วอร์มอัพมือก่อน สำหรับคุณปั้น เธอชอบฝึกตัดใบไม้ เพราะรู้สึกว่าถ้าช่วงไหนไม่ค่อยได้จับกรรไกร มือจะค่อนข้างแข็งและงานจะออกแนวทื่อกว่าปกติ
.
สมัยเรียนเธอชอบงานกระดาษและแกะสลักที่สุดในบรรดางานฝีมือทั้งหมด เธอบอกว่าของมีคมเหล่านี้คือพู่กันสำหรับเธอ
.
ดอกไม้กระดาษที่อยู่ระหว่างภาวะความกึ่งจริงกึ่งปลอมนี้เป็นพื้นที่สุดสมบูรณ์แบบสำหรับปั้นในการรังสรรค์ผลงานของเธอ ยิ่งดอกไม้กระดาษมีดูมีชีวิตชีวามากเท่าไหร่ ยิ่งแสดงให้เห็นว่าฝีมือของคนสร้างมีความปราณีตมากเท่านั้น
.
~ ‘จากดีไซน์ตระการตาของ Wes Anderson ไปจนถึง สีสันอันงดงาม ในงานของ Claude Monet”
แม้เธอจะทำงานดอกไม้กระดาษ แต่แรงบันดาลใจของปั้นส่วนใหญ่มาจาก ภาพยนตร์ จิตรกรรม
และ งานปัก เป็นหลัก
.
เธอบอกกับเราว่างาน โปรดักชั่นดีไซน์และคอสตูมของ Wes Anderson เป็นโลกที่น่าสนใจ
(ปั้นแอบกระซิบว่าเธอสนใจถ้าได้ทำฉากหรือนำดอกไม้ของเธอไปอยู่ในหนังด้วยนะ!)
งานเพ้นท์ติ้ง สไตล์ Impressionist ของ Monet คงไม่ต้องบอกว่าอินสไปร์เธออย่างไร เนื่องจากดอกไม้ของทั้งคู่มีความสดใสงดงามมีชีวิตชีวาเหมือนกับของจริง นอกจากนี้ เธอยังสนใจงานที่มีอินสไปร์จากธรรมชาติอย่าง Gustav Klimt, Gaudi และ William Morris อีกด้วย
.
ไอดอลคนไทยของเธอคนนึงคือพี่ ยูน - ปัณพัท เตชเมธากุล ศิลปินระดับโลกผู้เคยร่วมงานกับ Gucci มาแล้ว! ปั้นบอกว่าเธอชอบเสพงานแบบดีเทลเยอะๆ สีสันแน่นๆ เพราะโดยส่วนตัวปั้นเองไม่ใช่แนว ‘มินิมอล’ เท่าไหร่
.
การแต่งตัวของปั้นเองก็อยู่ในทิศทางเดียวกันกับงานของเธออีกด้วย
.
“คิดว่าที่เชื่อมโยงงานของปั้นกับการแต่งตัวคือเรื่องของดีเทล ที่ชอบเติมดีเทลเล็กๆในชิ้นงานเสมอ นอกจากเรื่องสีและลวดลาย Pattern on Pattern สีชนกันไม่เรียบ คิดว่าอีกสิ่งที่ปั้นขาดไม่ได้อย่างนึงเลยคือต่างหู รู้ว่าทำให้การแต่งตัวสนุกขึ้น และทำให้สร้างลุคที่แตกต่างกันออกไปได้ค่ะ”
.
Fun Fact : Daily Routine หรือ Ritual ของศิลปินคือสิ่งที่ทำบ่อยๆ เช่นถ้าเป็นสาย Portrait อาจจะมี Quick Sketch วอร์มอัพมือก่อน สำหรับคุณปั้น เธอชอบฝึกตัดใบไม้ เพราะรู้สึกว่าถ้าช่วงไหนไม่ค่อยได้จับกรรไกร มือจะค่อนข้างแข็งและงานจะออกแนวทื่อกว่าปกติ
สำหรับอนาคตปั้นมองว่ายังคงสนุกกับงานกระดาษอยู่ ถ้าจะมีสำรวจอะไรใหม่ๆบ้างก็คงเป็นเรื่องของวัสดุเป็นหลัก อย่างเช่นช่วงนี้ปั้นชอบ ‘เลื่อม’ (seqiun) ชิ้นแบนๆสีๆ จากพลาสติกและโลหะนี้มีความมันเงาวาววับ มาในหลายรูปทรง
.
“หรืออย่างล่าสุดมีโรงงานที่สุโขทัยติดต่อเรามา เขาทำเกี่ยวกับกระดาษสา เป็นกระดาษที่มีเยื่อและสีสันที่แปลกใหม่มาก เวลาที่เจอกระดาษใหม่ๆ นํ้าหนัก สัมผัส อะไรต่างๆมันไม่เหมือนกันเลยค่ะ”
.
นอกจากนี้ปั้นยังบอกกับเราว่า “คิดว่าอยากเห็นงานตัวเองในหลากหลายรูปแบบมากขึ้น อาจไปอยู่บนตัวคน เสื้อผ้า การประดับผมค่ะ”
.
เธอนำวัสดุใหม่ๆเหล่านี้ มาทดลอง เรียนรู้ และต่อยอดอยู่เสมอ ไม่ว่าจะตัด แปะ ติดกาว ผสมผสานวัสดุที่เล็กหรือใหญ่ ออกมาเป็นดอกไม้กระดาษที่มีชีวิตชีวาราวกับเด็ดออกมาจากทุ่ง เธอยังคงสำรวจตัวตนของงานอยู่ใน Medium กระดาษนี้ เหตุเพราะว่า
.
“เราเคยเบิร์นเอาท์ไปช่วงนึงนะคะ แต่พอพักไปแล้วกลับมาตัดกระดาษก็รู้สึกว่าคลายเครียดดี
Action ของการตัดกระดาษเฉยๆนี่แหละที่ทำให้เรามีความสุขที่สุด เหมือนได้ Therepy ตัวเองไปในตัว”
.
ในเชิงศิลปะเขาเรียกว่า ‘Fundamental action’ หรือ แอคชั่นขั้นพื้นฐานที่สุดของการสร้างงานฝีมือประเภทต่างๆ อย่างวาดรูปก็คือ การจับดินสอหรือผู่กัน ขีดเขียนลงไปบนพื้นผิวนึง และหากผู้ใดมีความรักในการกระทำพื้นฐานเหล่านี้ ก็จะตกหลุมรักและพัฒนาตัวเองได้อย่างต่อเนื่อง จนเกิดเป็นความชำนาญนั่นเอง หรือที่คนที่ไม่เคยทำงานศิลปะมักเรียกว่า ‘พรสวรรค์’
.
ในคอลเลคชั่น Carnival x New Era “Spring in NYC” 9Forty Cap ปั้นนำคอนเซปของ ‘ฤดูใบไม้ผลิที่ไม่จางหาย’ การนำดอกไม้และความทรงจำดีๆมาเก็บไว้ใน 9Forty หมวกทรง Snapback ยอดนิยมของ New Era โดยคู่สีเป็นการนำสีจากคอลเลคชั่นมาตีความเป็นคน 3 แบบ สี Khaki จะเป็นคนที่ดูหวาน มีความอบอุ่น สี Gren จะอินสไปร์จากธรรมชาติ เป็นคนที่ขี้เล่นนิดนึง สื่อสารด้วยสีที่ตัดกัน ปิดท้ายด้วยสี Black ที่เป็นสีประจำแบรนด์ Carnival เป็นที่เท่ ยูนิค
.
“ปกติคนส่วนใหญ่จะบอกว่าสีดำคือสีที่เซฟ แต่จริงๆแล้วเราว่าสีดำก็มีความสนุกได้ เราเลยนำสีดำมาตัดกับสีโทนเขียว เพิ่มความยูนิคให้กับตัวคอลเลคชั่น”
.
ดอกไม้ที่ใช้ในงานหมวกมีดังนี้
Warm Khaki : chrysanthemum, coneflower, narcissus, phlox
Leaf Green : clematis, coneflower, anthurium, thysanotus tuberosus, bluebell
OG Black : coneflower, clematis, beach spider lily, yarrow ,queen anne’s lace
.
“ในเรื่องของดอกไม้ที่ใช้ ปั้นคิดว่านอกจากหมวกจะเป็นภาชนะที่เราใช้ในการเปรียบเปรยแล้ว ก็มองเหมือนเป็นคนคนๆนึงที่ถ้าเป็นคนนี้เราจะอยากมอบดอกไม้แบบไหนให้ จัดออกมาในรูปแบบไหน ดอกไม้ต้องรูปทรงยังไง และมีการเติมดีเทลแต่ละแบบยังไงค่ะ”
.
นอกจากเซท งานอาร์ทหมวกที่รับชมกันไปในช่องทางออนไลน์แล้ว ยังมี Installation ที่จัดวางโดยฝีมือของปั้นเองด้วยนะ! สามารถเข้าชมงานได้ที่ Warehouse 30 โกดัง 7-8 แล้วอย่าลืมแวะมาเยี่ยมชมถ่ายรูปกันนะครับ
ติดตามปั้นได้ที่ Papeterie , IG : p.papeterie
.
“หรืออย่างล่าสุดมีโรงงานที่สุโขทัยติดต่อเรามา เขาทำเกี่ยวกับกระดาษสา เป็นกระดาษที่มีเยื่อและสีสันที่แปลกใหม่มาก เวลาที่เจอกระดาษใหม่ๆ นํ้าหนัก สัมผัส อะไรต่างๆมันไม่เหมือนกันเลยค่ะ”
.
นอกจากนี้ปั้นยังบอกกับเราว่า “คิดว่าอยากเห็นงานตัวเองในหลากหลายรูปแบบมากขึ้น อาจไปอยู่บนตัวคน เสื้อผ้า การประดับผมค่ะ”
.
เธอนำวัสดุใหม่ๆเหล่านี้ มาทดลอง เรียนรู้ และต่อยอดอยู่เสมอ ไม่ว่าจะตัด แปะ ติดกาว ผสมผสานวัสดุที่เล็กหรือใหญ่ ออกมาเป็นดอกไม้กระดาษที่มีชีวิตชีวาราวกับเด็ดออกมาจากทุ่ง เธอยังคงสำรวจตัวตนของงานอยู่ใน Medium กระดาษนี้ เหตุเพราะว่า
.
“เราเคยเบิร์นเอาท์ไปช่วงนึงนะคะ แต่พอพักไปแล้วกลับมาตัดกระดาษก็รู้สึกว่าคลายเครียดดี
Action ของการตัดกระดาษเฉยๆนี่แหละที่ทำให้เรามีความสุขที่สุด เหมือนได้ Therepy ตัวเองไปในตัว”
.
ในเชิงศิลปะเขาเรียกว่า ‘Fundamental action’ หรือ แอคชั่นขั้นพื้นฐานที่สุดของการสร้างงานฝีมือประเภทต่างๆ อย่างวาดรูปก็คือ การจับดินสอหรือผู่กัน ขีดเขียนลงไปบนพื้นผิวนึง และหากผู้ใดมีความรักในการกระทำพื้นฐานเหล่านี้ ก็จะตกหลุมรักและพัฒนาตัวเองได้อย่างต่อเนื่อง จนเกิดเป็นความชำนาญนั่นเอง หรือที่คนที่ไม่เคยทำงานศิลปะมักเรียกว่า ‘พรสวรรค์’
.
ในคอลเลคชั่น Carnival x New Era “Spring in NYC” 9Forty Cap ปั้นนำคอนเซปของ ‘ฤดูใบไม้ผลิที่ไม่จางหาย’ การนำดอกไม้และความทรงจำดีๆมาเก็บไว้ใน 9Forty หมวกทรง Snapback ยอดนิยมของ New Era โดยคู่สีเป็นการนำสีจากคอลเลคชั่นมาตีความเป็นคน 3 แบบ สี Khaki จะเป็นคนที่ดูหวาน มีความอบอุ่น สี Gren จะอินสไปร์จากธรรมชาติ เป็นคนที่ขี้เล่นนิดนึง สื่อสารด้วยสีที่ตัดกัน ปิดท้ายด้วยสี Black ที่เป็นสีประจำแบรนด์ Carnival เป็นที่เท่ ยูนิค
.
“ปกติคนส่วนใหญ่จะบอกว่าสีดำคือสีที่เซฟ แต่จริงๆแล้วเราว่าสีดำก็มีความสนุกได้ เราเลยนำสีดำมาตัดกับสีโทนเขียว เพิ่มความยูนิคให้กับตัวคอลเลคชั่น”
.
ดอกไม้ที่ใช้ในงานหมวกมีดังนี้
Warm Khaki : chrysanthemum, coneflower, narcissus, phlox
Leaf Green : clematis, coneflower, anthurium, thysanotus tuberosus, bluebell
OG Black : coneflower, clematis, beach spider lily, yarrow ,queen anne’s lace
.
“ในเรื่องของดอกไม้ที่ใช้ ปั้นคิดว่านอกจากหมวกจะเป็นภาชนะที่เราใช้ในการเปรียบเปรยแล้ว ก็มองเหมือนเป็นคนคนๆนึงที่ถ้าเป็นคนนี้เราจะอยากมอบดอกไม้แบบไหนให้ จัดออกมาในรูปแบบไหน ดอกไม้ต้องรูปทรงยังไง และมีการเติมดีเทลแต่ละแบบยังไงค่ะ”
.
นอกจากเซท งานอาร์ทหมวกที่รับชมกันไปในช่องทางออนไลน์แล้ว ยังมี Installation ที่จัดวางโดยฝีมือของปั้นเองด้วยนะ! สามารถเข้าชมงานได้ที่ Warehouse 30 โกดัง 7-8 แล้วอย่าลืมแวะมาเยี่ยมชมถ่ายรูปกันนะครับ
ติดตามปั้นได้ที่ Papeterie , IG : p.papeterie