Behind the Icon Off- White™ ความเป็นมาของแบรนด์ที่พาสตรีทแฟชั่นขึ้นไปบนหิ้ง

Behind the Icon Off- White™ ความเป็นมาของแบรนด์ที่พาสตรีทแฟชั่นขึ้นไปบนหิ้ง

 

  หากเป็นคนที่ติดตามวงการสตรีทแฟชั่น คงจะไม่เกินจริงนักที่จะบอกว่าไม่มีทางที่คุณจะไม่รู้จัก Off- White™ หนึ่งในแบรนด์ที่ไม่ต้องแนะนำตัวกันแล้ว ก่อตั้งในปี 2012 โดย ‘เวอร์จิล แอบโลห์’ (Virgil Abloh) หนึ่งในบุคคลที่ทรงอิทธิพลที่สุดในวงการแฟชั่น และกลายเป็นดีไซนเนอร์อัจฉริยะผู้พลิกประวัติศาสตร์ของวงการไปตลอดกาล วันนี้ Carnival Behind the Icon จะพาทุกคนไปสำรวจความยิ่งใหญ่และเรื่องราวน่ารู้ของแบรนด์ไอคอนในตำนานนี้กัน


 

 ในโลกแห่งแฟชั่นที่เหมือนจะไม่มีวันหยุดนิ่งนี้จะมีสักกี่คนที่สามารถสร้างอิมแพคพร้อมทั้งจารึกรอยเท้าของตัวเองไว้ในฐานะผู้บุกเบิกและผู้เปลี่ยนแปลง แน่นอนว่ารายชื่อนั้นไม่ยาวมาก แต่คงไม่ยากนักถ้าจะบอกว่าคนที่สำคัญที่สุดในรอบสิบปีที่ผ่านมาคือ Virgil Abloh

ในปี 1980 Virgil Abloh เกิดที่รัฐ Illinois สหรัฐอเมริกา คุณเเม่ของเขาเป็นช่างเย็บผ้าตัดชุดส่วนพ่อนั้นทำงานบริหารบริษัทสี โดยพ่อและแม่ของเขาเป็นชาว กานา (Ghana) ก่อนจะย้ายมาอาศัยที่สหรัฐVirgil มีความสนใจในศิลปะและเรียนรู้การเย็บผ้าจากแม่ตั้งแต่วัยเด็ก แม้ว่าจะโตมาในเมือง Rockford 

ต่อมาไม่นานหลังจากจบไฮสคูล Virgil ก็ได้เข้าไปศึกษาที่ University of Wisconsin-Madison และได้รับปริญญาตรีสาขา Civil Engineering ในปี 2002 แม้ว่าตัวเขาเองจะรู้ตัวว่าไม่ได้สนใจทำงานด้านนี้ต่อก็ตาม ไม่นาน Virgil ก็กลับไปศึกษาต่ออีกครั้งคราวนี้ที่เมือง Chicago

ในปี 2006 คือปีที่ Virgil ได้รับปริญญาโทสาขาสถาปัตยกรรม ที่ Illinois Institute of Technology (IIT) ซึ่งเรื่องราวและประสบการณ์ของเขาจากการเรียนที่นี่ มีผลต่อเส้นทางชีวิตของ Virgil Abloh อย่างมากอย่างแรกเลยคืองานดีไซน์ของเขาได้แรงบัญดาลใจมาจาก Rem Koolhaas สถาปนิกสไตล์ Deconstructivism ผู้ทำงานให้คอลเลคชั่นบนรันเวย์กับ Prada มาอย่างยาวนาน นอกจากนั้นระหว่างที่เขาศึกษาอยู่ที่ Chicago เขาก็ได้แวะเวียนไปซื้อของที่ New York อยู่บ่อยครั้ง ด้วยหัวใจที่รักในแฟชั่นสตรีทแวร์ และกลายเป็นส่วนนึงของคอมมิวนิตี้สตรีทแฟชั่นของนิวยอร์กในที่สุด

จากการที่ Virgil เข้าไปเป็นวงในของซีนสตรีทแวร์ของนิวยอร์กบวกกับการใช้งานซอฟแวร์ขณะที่เรียนสถาปนิกให้เกิดประโยชน์ เขาจึงผสมความชอบด้านสตรีทแวร์ของเขาเข้ากับทักษะการดีไซน์ และออกมาเป็นแบรนด์ ‘Forthome’ เสื้อผ้าแรกของเขาที่ไม่ค่อยได้ยินชื่อกันนัก เนื่องจากเป็นแบรนด์ที่ไม่ได้ไปไกลกว่าวงสังคมของเขาในตอนนั้น โดยดีไซน์ของ Forthome ใช้ลักษณะกราฟฟิคลายตัว “X” คลับคล้ายกับการออกแบบโลโก้ของ Off White ในภายในหลัง โดย Virgil ได้ให้สัมภาษณ์กับ GQไว้ว่าเหตุผลที่ใช้ฟ้อนท์ Edwardian Script กับชื่อ Forthome เป็นเพราะว่าเป็นฟ้อนท์ลายมือเดียวที่ Adobe Illustrator ของเขามีในตอนนั้นนั่นเอง

ถึงแม้ว่าแบรนด์ Forthome จะไม่ได้ไปต่อ แต่ดีไซน์ของเขานั้นก็ได้ไปเข้าตาร้านเสื้อปริ้นท์ประจำเมือง Chicago ในนาม Custom Kings ที่เสนอให้ Virgil มาทำงานกับร้าน หลังจากนั้นไม่กี่สัปดาห์โชคชะตาก็นำพา Don C ดีไซนเนอร์มือเก๋าแห่ง Chicago ผู้ในขณะนั้นก็ได้ทำงานร่วมกับแรปเปอร์แห่งยุคสมัยอย่าง Kanye West มายาวนานประมาณนึงแล้ว และด้วยดีไซน์ของ Virgil ที่เข้าตา Don C เป็นอย่างมากทำให้ทั้งคู่เริ่มทำงานและสนิทสนมกัน เรื่องราวที่เป็นตำนานมากคือในปี 2006 Virgil ไม่ไปพิธีรับปริญญาของตัวเองเพื่อไปเจอกับ Don C และญาติของเขา John Monopoly ผู้จัดการของ Kanye West ณ ขณะนั้น

หลังจากการร่วมงานกับ Don C อยู่ระยะนึงในที่สุด Virgil ก็ได้ถูกว่าจ้างให้ไปร่วมงานกับ Kanye และในปี 2008 เราก็ได้เห็น Tour Merch ของอัลบั้ม Glow in the Dark ของ Kanye ผลงานที่ Virgil ออกแบบร่วมกับ Takashi Murakami ศิลปินชื่อดังชาวญี่ปุ่น ต่อมาไม่นานด้วยความที่ Kanye และ Virgil มีความสนใจในงาน Luxury Fashion ทั้งสองจึงเข้าไปฝึกงานด้วยกันที่ Fendi ในปี 2009 และทั้งคู่ก็ได้สร้างสีสันให้กับสตูดิโอจนเข้าตา Michael Burke ผู้เป็น Ceo ของ Fendi ในขณะนั้น 

ในที่สุดแล้วทั้งคู่ไม่ได้สานต่อกับ Fendi แต่ว่าประสบการณ์ของพวกเขามีผลอย่างมากต่อเส้นทางอาชีพในภายหลัง และเป็นก้าวแรกในวงการ Luxury Fashion เพราะในปีเดียวกันนั้น Kanye West ก็ได้ร่วมงานกับบ้านแฟชั่นรุ่นใหญ่อย่าง Louis Vuitton ที่เป็นการเปิดโอกาสให้พวกเขาและทีมได้เข้าไปใน Paris Fashion Week เป็นครั้งแรก และในตอนนั้น Streetwear กับ Luxury Fashion ไม่ใช่ของที่เข้ากันได้แบบทุกวันนี้ และด้วยตัวตนของพวกเขาที่โดดเด่นและแตกต่างจากผู้คนในงานอย่างมากทำให้ถูกปฏิบัติราวกับว่าเป็นคนนอก แต่นั่นเองที่เป็นจุดสำคัญที่เปลี่ยนทุกอย่าง เพราะพวกเขามองเห็นสีสันที่ขาดไปในวงการ Luxury และพวกเขาเองที่จะเป็นคนนำพาวัฒนธรรมและไอเดียใหม่ๆมาสู่วงการ



 

 อีกก้าวสำคัญของ Virgil คือการได้เป็น Creative Director ของ DONDA สตูดิโอครีเอทีฟของ Kanyeในปี 2010 และปีน้ันเองทื่ Virgil เป็นผู้กำกับศิลป์อัลบั้ม My Beautiful Dark Twisted Fantasy ผลงานชิ้นโบว์แดงของ Kanye ที่ Virgil เลือกให้ George Condo ศิลปินชาวนิวยอร์กผู้มีสไตล์เฉพาะตัว

มารังสรรค์ผลงานที่กลายเป็นตำนานที่ยกย่องให้เป็น 1 ใน 50 ปกอัลบั้มยอดเยี่ยมตลอดกาล ซึ่งในระหว่างที่กำลังอัดอัลบั้มที่ฮาวายนั้น Virgil ก็อยู่กับ Kanye และคอยแนะนำทุกคนด้วยคลังเรฟตัวอย่างที่มีตั้งแต่งานสถาปัติไปจนถึงงานศิลปะ ซึ่งเป็นอินไปเรชั่นที่ดีให้กับทุกคนที่ร่วมงาน ซึ่งล้วนเป็นศิลปินชั้นนำทั้งนั้นไม่ว่าจะเป็น Jay-Z, Pusha T, และ Kid Kudi เป็นต้น

Virgil ยังเป็นผู้กำกับศิลป์ให้กับอัลบั้ม Watch the Throne ของ Kanye และ Jay-Z ในปี 2011 ซึ่งได้ Creative Director ของ Givenchy ณ ตอนนั้นอย่าง Riccardo Tisci มารังสรรค์อาร์ทเวิร์คให้ในเวลานี้ชื่อเสียงและคอนเนคชั่นของ Virgil ในวงการ Luxury Fashion ก็เริ่มประจักษ์ชั้ดเจนขึ้นและด้วยความสำเร็จของอัลบั้ม Watch the Throne ก็ทำให้ Virgil และ Riccado ได้รับเสนอชื่อเข้าชิง Grammy Award สาขา Best Recording Package

ในช่วงเวลาทัวร์อัลบั้ม Watch the Throne ที่อังกฤษเป็นเวลาที่ Vergil พักอยู่ที่ลอนดอนเป็นเวลานานทำให้ได้สนิทสนมและไปเที่ยวกับ Matthew Williams และ Heron Preston อยู่บ่อยครั้ง ด้วยความที่ทั้งสามมีรสนิยมเพลงคล้ายกัน และเบื่อแนวดนตรีที่เปิดตามสถานบันเทิงของลอนดอน ทั้งสามจึงตัดสินใจเปิดตัว “Been Trill” กลุ่มดีเจที่ผสมผสานวัฒนธรรมอินเตอร์เนตเข้ากับแนวเพลงแรพที่พวกเขาชื่นชอบซึ่งกลายเป็นแบรนด์ขายเสื้อผ้าที่ได้รับการขนานนามว่า “แพงเกินไป” เช่นเชือกรองเท้าราคาสามพันบาทที่เลื่องชื่อ ด้วยการตลาดแบบ Influencer ด้วยการที่เบื้องของแบรนด์มีเพื่อนเป็นซุปเปอร์สตาร์และศิลปินชั้นนำที่ใส่เสื้อของพวกเขาจึงทำให้ความไฮป์ทยานอย่างแทบที่จะไม่เคยมีมาก่อน แต่ด้วยราคาที่ห่างจากคุณภาพไปเยอะราวกับเน้นความไฮป์มากกว่าดีไซน์ จน Virgilตัดสินใจแยกตัวออกมาเพราะไม่อยากทำงานดีไซน์ที่ไม่ดีอีกต่อไป ในที่สุดบุคคลเบื้องหลัง Been Trill ก็ล้วนแยกย้ายไปเติบโตอย่างงดงามในทางของตัวเองส่วนแบรนด์นี้ก็กลายไปเป็นส่วนนึงของ PacSun ร้าน Retail ยักษ์ใหญ่ที่สหรัฐอเมริกา

หลังจากที่ Virgil เรียนรู้และแยกทางจาก Been Trill เขาก็ได้สร้าง Pyrex Vision สิ่งที่เริ่มต้นเป็นเพียง“หนังความยาวสิบนาที” ที่ Virgil อยากจะทำ ด้วยเมสเสจเปิดตัวที่ว่าด้วยเรื่อง ‘ผู้คนที่มาจากพื้นที่ที่เข้าไม่ถึงโอกาสจะสามารถพลักดันตัวเองออกมาได้ด้วยการขายยาไม่ก็เล่นบาสเกตบอล’ เป็นการเสียดสีและชี้ให้เห็นปัญหาของระบบโครงสร้างสังคม และระบบเศรษฐกิจ สะท้อนผ่านชื่อ PYREX (Pyrex คือถ้วยตวงที่นิยมใช้ในการผลิตยาเสพติด) และหมายเลข 23 เลขประจำตัวของนักบาสในตำนาน Michael Jordan แห่งทีม Chicago Bullsด้วยชื่อเสียงที่สะสมมาจากหลากหลายวงการและผลงานที่ผ่านมาของ Vergil ส่งผลให้ Pyrex Vision กลายเป็นแบรนด์สุดไฮป์ที่ขายเสื้อปริ้นท์ได้ในราคาหลักหมื่นบาท ความสำเร็จของแบรนด์นั้นพุ่งทะยาน อย่างรวดเร็วและกลายเป็นที่พูดถึงในวงกว้างจนเกือบถูกแบรนด์ Pyrex แบรนด์เครื่องครัวขู่ฟ้องร้องเรื่อง ชื่อของแบรนด์ แต่ว่า Virgil ได้ไหวตัวปิดแบรนด์ Pyrex Vision ไปก่อนเรียบร้อย อย่างไรก็ตามประสบการณ์ทั้งหมดของ Virgil ที่ได้สั่งสมมาทั้งความสำเร็จและความล้มเหลว ต่างหล่อหลอมให้กลายเป็น Off-White สุดยอดแบรนด์ที่จะเปลี่ยนโลกของแฟชั่นไปตลอดกาล



จุดกำเนิดของ Off-White นั้นเรียกได้ว่าเริ่มตั้งแต่วินาทีที่ Pyrex Vision ปิดตัวลง ตัว Virgil เองมีไอเดียที่อยากนำเสนอมายาวนานและโอกาสทั้งหมดมันมาประจวบเหมาะลงที่ตอนนั้นพอดีด้วยความที่โลกของ Luxury Fashion ณ ขณะนั้นกำลังเริ่มที่จะเข้าใจและนำความเป็นสตรีทแวร์เข้ามาใส่ในงานมากขึ้น อย่าง Collection ที่เป็นเหมือนสัญญาณแรกๆคือ Balenciaga AW2012 ที่นำความเป็นพังค์ร็อคและความเป็นสตรีทแวร์เข้ามาผสานกับการตัดเย็บแบบแฟชั่นไฮเอนด์ทำให้ Virgil ตัดสินใจทำในสิ่งที่เขาฝันมานาน 

เริ่มด้วยการเปิดตัวแบรนด์ที่ Milan ตามด้วยคอลเลคชั่น Menswear 2014 ที่โชว์ให้โลกเห็นถึงความเป็น Off-White ด้วยลายกราฟฟิคที่เป็นเอกลักษณ์ พร้อมคำประกอบว่า White ที่โดดเด่นชัดเจนตามสไตล์สตรีทแวร์ที่ผสานเข้ากับแนวทางของเสื้อที่มีความไฮเแฟชั่นผสมอยู่ ต่อเนื่องในปีเดียวกันด้วยคอลเลคชั่น Womenswear ที่เป็นเรื่องยากมากที่แบรนด์ใหม่ที่ไม่มีประสบการณ์ในวงการไฮแฟชั่นมาก่อนจะสามารถทำทั้ง Menswear และ Womenswear ได้ตั้งแต่เริ่ม แต่ว่าสำหรับ Off-White นั้นกลับออกมาลงตัวอย่างไม่น่าเชื่อ จนได้รับการเสนอชื่อ LVMH Prize ในปี 2015 

เป็นเวลา 7 ปีนับจากวันที่ Virgil ไปเยือน Paris Fashion Week ด้วยความรู้สึกของการเป็นคนนอก จนในที่สุดในปี 2016 โชคชะตาก็พา Virgil กลับมาจัดโชว์ของตัวเองอย่างสมศักดิ์ศรี และหลังจากนั้นระหว่างปี 2016 ถึงปี 2017 เขาได้เปิดร้าน Off-White Store ออกแบบเฟอร์นิเจอร์ และกลับมาเป็นดีเจอีกครั้ง ระหว่างทั้งหมดนี้เขายังได้ทำการ Collaboration รองเท้าที่ใหญ่ที่สุดที่โลกเคยเห็นอีกด้วย

ก่อนจะพูดถึงการ Collaboration เราต้องย้อนกลับไปเมื่อปี 2012 สมัยที่เขายังทัวร์ดีเจกับแก็ง Been Trillเขาได้มีโอกาสร่วมงานกับโปรเจครองเท้า Nike มาก่อนแล้วในช่วง Nike Yeezy ในช่วงที่เขาทำงานกับ Kanye ที่ในตอนนั้น Fraser Cooke ผู้อำนวยการฝ่าย Special Project ของ Nike ก็ได้จับตามองความสามารถด้านดีไซน์ ของ Virgil ไ้ว้เเล้ว ซึ่งกลับมาที่ปี 2016 ในตอนที่ Virgil เปิดตัวคอลเลคชั่น Menswear ที่ใช้รองเท้าที่คอลแลบร่วมกับแบรนด์ Umbro ซึ่งในงานตอนนั้นมี Fraser Cooke อยู่ในหมู่ผู้ชมและ Fraser ก็ตัดสินใจทันทีว่าต้องเป็น Virgil ที่มาร่วมโปรเจคกับ Nike ครั้งนี้ใน

ปี 2017 เราก็ได้พบกับคอลแลบรองเท้าที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่เคยมีมาอย่างคอลเลคชั่น The Tenที่เป็นการร่วมงานของ Nike ที่เปิดโอกาสให้ Off-White นำรองเท้าคลาสสิคสิบคู่ของ Nike นำไปตีความใหม่ ซึ่งไม่เคยมีการทำแบบนี้มาก่อนเลยในประวัติศาสตร์ ถือว่าเป็นการคอลแลบเปลี่ยนโลกที่แท้จริง ด้วยคอนเซปที่แบ่งดีไซน์รองเท้าเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

  1. Revealing เป็นการ “เปิดเผย” ดีไซน์ของรองเท้าไม่ว่าจะเป็นการตัดบางส่วนออกเผยให้เห็นสิ่งข้างใน เสริมด้วยการตกเเต่งและดัดแปลงให้สร้างสรรค์มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการย้ายโลโก้ เขียนเติมแต่งตามสไตล์ Off-White นำลิ้นออกให้เห็นโฟม เป็นต้น โดยที่ Virgil มี ความตั้งใจให้รองเท้ากลุ่มนี้เป็นต้นแบบให้กับคนที่มีรุ่นเหล่านี้อยู่แล้วให้นำออกมาสร้างสรรค์ผ่านความเป็นตัวเองลงไป 

โดยรองเท้าในกลุ่มนี้ได้แก่ Air Jordan 1, Air Max 90, Air Presto, Air VaporMax และ Blazer Mid

  1. Ghosting เป็นการนำเสนอในแบบ “โปร่งแสง” ให้ความรู้สึกเหมือนกับได้เห็นโครงสร้างและอวัยวะภายในรองเท้า ที่ใช้วัสดุกึ่งโปร่งแสงคล้ายกันทั้งหมด โดยคอนเซปคือ Virgil อยากให้ทั้ง 5โมเดลนี้เป็นเหมือนตัวแทนประวัติศาสต์บาสเกตบอลของ Nike และ Converse ตลอด 94 ปีที่ผ่านมา

โดยรองเท้าในกลุ่มนี้ได้แก่ Air Force 1 Low, Air Max 97, Air React Hyperdunk 2017, Converse Chuck Taylor และ Zoom Fly SP

ในปี 2018 Virgil Abloh ได้รับตำแหน่ง Artistic Director ของแบรนด์ Louis Vuitton ซึ่งถือเป็นความสำเร็จอย่างมากสำหรับวัฒนธรรมสตรีทในวงการแฟชั่นที่ ไม่เคยมีมาก่อน โชว์เปิดตัวของเขา Louis Vuitton 2019 ต้องถูกจากรึกในประวัติศาสตร์ของวัฒนธรรมแฟชั่น ตัว Virgil เองเป็นผู้ที่นำมุมมองและรสชาติใหม่มาสู่รันเวย์และเปลี่ยนมันไปตลอดกาล ถึงแม้ว่า Virgil จะจากเราไปแล้ว แต่อิมแพคที่เขาสร้างไว้บนโลกใบนี้มากมายมหาศาล ตัวแบรนด์ Off-White เองก็ยังไปต่อได้อย่างแข็งแรงด้วยความที่รากฐานที่ Virgil สร้างไว้ส่งตัวแบรนด์ขึ้นไปถึงจุดสูงสุดของความเป็น Luxury Street Fashion ด้วย Collaboration ชั้นนำนับไม่ถ้วน ที่ทำให้ชื่อ Off-Whiteกลายเป็นที่รู้จักในทุกวงการ และสำหรับปี 2023 นี้ทาง Carnival ก็มีโอกาสได้นำแบรนด์ในตำนานนี้มาจำหน่ายแบบ #CarnivalExclusive กันอีกครั้งด้วย



#nikexoffwhite #offwhite #nike #nikesportswear #nsw #CarnivalExclusive


By Carnivalbkk
445 view(s)
2 years ago